Homeostasis

รักษาสมดุลในร่างกาย

       การเดินทางสายกลางไม่ได้เป็นคำสอนเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ในเรื่องสุขภาพก็ต้องเดินทางสายกลางด้วยเช่นกันนั่น คือ การรักษาสมดุล (Homeostasis) ให้กับร่างกาย เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับคำนี้สักเท่าไหร่ หรืออาจจะเคยได้ยินมาบ้างจากนวัตกรรมของการรักษาผิวหน้าในคลินิกเวชกรรมความงาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า “การรักษาสมดุล” นั้นคืออะไรและมีวิธีการอย่างไรจึงจะรักษาสมดุลให้กับร่างกายเราได้

Homeostatsis คือ การรักษาสมดุลในร่างกาย มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Homeo = Like และ Stasis = Constant เป็นการรักษาสภาพแวดล้อมในร่างกายให้คงที่ อธิบายง่ายๆ คือ เซลล์ในร่างกาย เราจะดำรงชีวิตและทำหน้าที่ได้อย่างปกติ จะต้องมีสภาพแวดล้อมของเซลล์ที่เหมาะสม การรักษาระดับปัจจัยต่างๆ ในร่างกาย เช่น นํ้า กรด-เบส อุณหภูมิ เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมของเซลล์ให้คงอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้กลไกและระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ในทางกลับกันหากสมดุลในร่างกายผิดเพี้ยนไป ไม่ว่าจะมีอะไรขาดหรือเกิน ก็ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายรวนทันที และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นั่นเอง
จะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายขาดสมดุล

         ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการที่ร่างกายเราขาดสมดุลหมายรวมถึงความไม่สมดุลระหว่าง “ร่างกาย” กับ “จิตใจ” ด้วย เพราะความไม่สมดุลนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากจิตใจมากกว่า สาเหตุจากร่างกายจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายได้ง่าย หรือที่เรียกกันว่า “ใจป่วยกาย ก็ป่วย” เพราะร่างกายกับจิตใจนั้นสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างร่างกายกับจิตใจส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อเราเจอปัญหาต่างๆ พร้อมๆ กัน ทำให้เกิดการสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัวของร่างกายก็จะ หลั่งฮอร์โมนต่างๆ ออกมาโดยอัตโนมัติ ทำให้ใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันเพิ่ม ท้องอืด นํ้าตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น หรือเหงื่อออกมากขึ้น และหากความเครียดเหล่านี้ยังคงอยู่เรื้อรัง อาจเกิดโรคทางจิตใจและร่างกายตามมา และยังมีอาการทางกายที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าร่างกายเสียสมดุล เช่น การเป็นภูมิแพ้ เป็นแผล ร้อนใน เจ็บคอ หรือมีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังบ่อยๆ เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการรักษา หรือปรับสมดุลด้วยตัวเอง กลายเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมาเช่นกัน
วิธีการปรับสมดุล

            เนื่องจากภาวะการขาดความสมดุลของร่างกายนั้นไม่ใช่ “โรค” เราจึงไม่ใช้คำว่า “การป้องกันและ รักษา” ถึงแม้อาจจะมีการใช้ยาในการรักษาบ้างก็ตาม แต่มีหลายรายเมื่อหมดฤทธิ์ยาอาการก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก หรือเป็นๆ หายๆ สร้างความทุกข์และรำคาญใจมาก ปัจจุบันมีทางเลือกสำหรับการรักษาแบบใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพายาหรือสารเคมีใดๆ แต่ใช้วิธีการปรับสมดุลของร่างกายด้วยตัวเองนอกจากร่างกายเราจะปรับสมดุลโดยอัตโนมัติแล้ว ถ้ารู้ตัวว่าร่างกายขาดสมดุลตัวเราเองก็ควรช่วยร่างกายเราเช่นกัน ซึ่งวิธีการปรับสมดุลทั้งจิตใจและร่างกายให้ดีขึ้น คือ

  1. ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ต้องรู้ทันร่างกาย เช่น หากร่างกายและอวัยวะภายในมีความร้อนมากเกินไป ก็เลือกทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เพื่อช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้เป็น
  3. ปกติ หลักๆ คือการทานอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย รวมทั้งดื่มนํ้าให้มากๆ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนทำให้เกิดการติดขัดของเมตาบอลิซึม ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายไม่ดี ฮอร์โมนทำงานไม่ปกติ เครียดง่าย ส่งผลต่อด้านอารมณ์และจิตใจได้
  5. เสริมสร้างจิตใจให้แข็งแรง เริ่มต้นจากการผ่อนคลายจิตใจ หยุดพักหยุดคิดเรื่องเครียดต่างๆ รู้ทันจิตของตัวเองเพื่อรับมือกับความเครียด และหาวิธีคลายเครียดด้วยตัวเอง
  6. คอยสังเกตดูแลเอาใจใส่ตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ทำอะไรเกินไปหรือขาดไปบ้าง ให้ฟังเสียงของร่างกายและจิตใจ เพื่อจะได้รู้ว่าเราควรจะปรับตัวเองเพื่อให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะสมดุลอย่างไร แม้ภาวะการขาดสมดุลจะไม่ใช่โรคภัยที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู้การเกิดโรคต่างๆ ดังนั้นไม่ควรละเลยการดูแลและคอยสังเกตตัวเองว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ร่างกายและจิตใจเราขาดอะไรหรือมีอะไรที่เกินไปบ้าง เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรปรับตัวเองให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในทางสายกลางหรือภาวะสมดุลอย่างไร